เราใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “ยอมรับ” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้งานคุ๊กกี้
ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลต้นทุนบริการผู้ป่วยนอก ต้นทุนบริการผู้ป่วยใน และอัตราส่วนต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อราย ต่อ ต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้ง ใช้ข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลของ 40 โรงพยาบาล จากโครงการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2561-2564) แบ่งเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอก รวม 34,696,442 ครั้ง (8,380,751 คน) และข้อมูลผู้ป่วยใน รวม 2,191,117 ราย เป็นต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ วิเคราะห์ต้นทุนบริการแบบมาตรฐานจากบนลงล่าง และแบบต้นทุนจุลภาค ผลพบว่า 1) ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 878 บาทต่อครั้ง และ 3,305 บาทต่อคนต่อปี กลุ่มโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช มีต้นทุนสูงสุด 1,832 บาทต่อครั้ง และ 7,420 บาทต่อคนต่อปี ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิประกันสังคม มีต้นทุน 3,391 และ 3,298 บาทต่อคนต่อปี 2) ต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ย 20,445 บาทต่อราย 4,000 บาทต่อวัน และ 13,142 บาทต่อ adjusted relative weight โรงพยาบาลจิตเวช มีต้นทุนต่อ AdjRW สูงสุด 25,954 บาท รองลงมาคือ โรงพยาบาลชุมชน 16,500 บาทต่อ AdjRW สิทธิประกันสังคมมีต้นทุนต่อ AdjRW สูงสุด 14,178 บาท รองลงมาคือ สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13,253 และ 12,880 บาท 3) อัตราส่วนต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อรายเทียบกับต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้งมีค่าระหว่าง 15.1 - 29.5 เท่า กลุ่มโรงพยาบาลศูนย์> 1,000 เตียง มีอัตราส่วน 19.3 โรงพยาบาลศูนย์ 500-1,000 เตียง 25.2-25.7 โรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300-499 เตียง 20.6 โรงพยาบาลชุมชน>=60 เตียง โรงพยาบาลชุมชน<60 เตียง 15.1 และโรงพยาบาลจิตเวช 29.5 ผลการศึกษาที่ได้สามารถตอบคำถามเรื่องต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในได้ในภาพรวม การนำไปใช้ประโยชน์ต้องระมัดระวัง เพราะกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนของโรงพยาบาลได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการนำข้อมูลต้นทุนไปใช้ประโยชน์ จะเป็นการตรวจสอบและพัฒนาความถูกต้องของข้อมูลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหน่วยงานในระดับนโยบายและกองทุนหลักประกันสุขภาพควรนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นการกระตุ้นและเป็นแรงจูงใจที่สำคัญให้โรงพยาบาลมีการจัดทำข้อมูลต้นทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป
This study aimed to present data on unit costs of outpatient and inpatient services, and the ratio of inpatient cost per case to outpatient cost per visit. The present study pooled individual outpatient and inpatient cost data from 40 hospitals in the first phase of the Cost per Disease project (fiscal years 2018-2021). There were 34,696,442 outpatient visits (of 8,380,751 outpatients) and 2,191,117 inpatient admissions from standard top-down and bottom-up costing methods on provider’s perspectives. The findings were as follows. 1) The average outpatient cost was 878 baht per visit and 3,305 baht per person per year, whereas psychiatric hospital gave the average 1,832 baht per visit and 7,420 baht per person per year. Patients under the universal coverage scheme (UCS) cost 3,391, while the civil servant medical benefit scheme (CSMBS) and the social security scheme (SSS) cost 3,391 and 3,298 baht per person per year. 2) The average inpatient admission cost 20,445 baht per case, or 4,000 baht per day, and 13,142 baht per adjusted relative weight (AdjRW). Psychiatric inpatient cost 25,954 baht per AdjRW, followed by inpatients at community hospitals at 16,500 baht per AdjRW. The highest cost per AdjRW for SSS was 14,178 baht, while CSMBS and UCS were 13,253 and 12,880 baht per AdjRW, respectively. 3) The ratio of inpatient per admission cost to outpatient per visit cost ranged from 15.1 to 29.5. Hospitals over 1,000 beds had a ratio of 19.3, while hospitals with 500-1,000 beds had the ratios between 25.2 and 25.7. General hospitals with 300-499 beds had a ratio of 20.6, community hospitals with 60 or more beds had a ratio of 15.1, and psychiatric hospitals had a ratio of 29.5. The study results provide insights into outpatient and inpatient costs, although cautions should be exercised when applying them, as the participating hospitals were non-representative. Nevertheless, utilizing cost data for verification and improvement was beneficial. Therefore, policy decision-makers and health insurance funds, including the National Health Security Office, should encourage hospitals to continuously develop potential uses of cost data.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลต้นทุนบริการผู้ป่วยนอก ต้นทุนบริการผู้ป่วยใน และอัตราส่วนต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อราย ต่อ ต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้ง ใช้ข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลของ 40 โรงพยาบาล จากโครงการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2561-2564) แบ่งเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอก รวม 34,696,442 ครั้ง (8,380,751 คน) และข้อมูลผู้ป่วยใน รวม 2,191,117 รายเป็นต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ วิเคราะห์ต้นทุนบริการแบบมาตรฐานจากบนลงล่าง และแบบต้นทุนจุลภาค ผลพบว่า
1. ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 878 บาทต่อครั้ง และ 3,305 บาทต่อคนต่อปี กลุ่มโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช มีต้นทุนสูงสุด 1,832 บาทต่อครั้ง และ 7,420 บาทต่อคนต่อปี ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิประกันสังคม มีต้นทุน 3,391 และ 3,298 บาทต่อคนต่อปี
2. ต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ย 20,445 บาทต่อราย 4,000 บาทต่อวัน และ 13,142 บาทต่อ AdjRW โรงพยาบาลจิตเวช มีต้นทุนต่อ AdjRW สูงสุด 25,954 บาท รองลงมาคือ โรงพยาบาลชุมชน 16,500 บาทต่อ AdjRW สิทธิประกันสังคมมีต้นทุนต่อ AdjRW สูงสุด 14,178 บาท รองลงมาคือ สิทธิสวัสดิการ ข้าราชการ และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13,253 และ 12,880 บาท
3. อัตราส่วนต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อรายเทียบกับต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้งมีค่าระหว่าง 15.1 - 29.5 เท่า กลุ่มโรงพยาบาลศูนย์> 1,000 เตียง มีอัตราส่วน 19.3 โรงพยาบาลศูนย์ 500-1,000 เตียง 25.2-25.7 โรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300-499 เตียง 20.6 โรงพยาบาลชุมชน>=60 เตียง โรงพยาบาลชุมชน<60 เตียง 15.1 และโรงพยาบาลจิตเวช 29.5
ผลการศึกษาที่ได้สามารถตอบคำถามเรื่องต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในได้ในภาพรวม การนำไปใช้ประโยชน์ต้องระมัดระวัง เพราะจำนวนกลุ่มตัวอย่างของโรงพยาบาลบางกลุ่มไม่เป็นตัวแทนของโรงพยาบาลได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการนำข้อมูลต้นทุนไปใช้ประโยชน์ จะเป็นการตรวจสอบและพัฒนาความถูกต้องของข้อมูลได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหน่วยงานในระดับนโยบายและกองทุนหลักประกันสุขภาพควรนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นการกระตุ้นและเป็นแรงจูงใจที่สำคัญให้โรงพยาบาลมีการจัดทำข้อมูลต้นทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป
ต้นทุนของการให้บริการด้านสุขภาพ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายในการกำหนดงบประมาณที่ต้องคำนึงการพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายของภาครัฐ จนถึงการกำหนดอัตราค่าบริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม นับจากประเทศไทยได้ดำเนินงานนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ 30 บาทรักษาทุกโรคในปีงบประมาณ 2545 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแก่คนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานโดยไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย หลังดำเนินโครงการพบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าโครงการค่อนข้างประสบความสำเร็จในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนในทุกระดับเศรษฐานะ(1) จากการที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้นทุกปี จากจุดเริ่มต้นได้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเท่ากับ 1,202 บาทต่อประชากรในปี 2545 (2) ต่อมาได้รับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ในปี 2566ปรับเพิ่มเป็น 3,385 บาท บาทต่อประชากร (3)
เนื่องจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่บริหารจัดการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกองทุนที่ครอบคลุมประชาชนไทย จำนวน 47.46 ล้านคน ร้อยละ 70 ของประชาชนไทย ถือว่าเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐที่ใหญ่ที่สุด แต่ใช้เงินเพียงร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของงบประมาณแผ่นดิน แสดงถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างสูงยิ่ง(4) อย่างไรก็ตามปัญหาโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากประชาชนนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงโรงพยาบาลอาจจะได้รับงบประมาณไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่ควรจะเป็น(5) “ต้นทุน” จึงเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะช่วยในการตัดสินว่างบประมาณที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ และประโยชน์ที่ได้คุ้มกับต้นทุนที่จ่ายไปหรือไม่ ดังนั้น การรับรู้ต้นทุนที่แท้จริง และถูกต้องเหมาะสมในการจัดบริการสาธารณสุข จึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวตั้งในสมการที่คำนวณความคุ้มค่า และยังเป็นตัววัดค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด เพื่อจะให้ทราบว่าประเทศหรือประชาชนจะรับภาระต้นทุนนั้นได้หรือไม่(6) รวมถึงวิธีการคำนวณอัตราเหมาจ่ายรายหัวในการของบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยังคงใช้วิธีวิธีการของราคาและปริมาณ (price and quantity, PQ approach) โดยวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนต่อครั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แบบวิธีลัดและใช้ค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการจากรายงานการเงินของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เป็นตัวแทนในการคำนวณ และปรับเพิ่มด้วยอัตราเงินเฟ้อของราคาต้นทุน (cost inflation rate) (7) ซึ่งข้อมูลต้นทุนดังกล่าวไม่ครอบคลุมโรงพยาบาลทุกระดับและมิใช่ข้อมูลต้นทุนที่คำนวณจากวิธีมาตรฐานและข้อมูลต้นทุนรายบุคคลที่เป็นข้อมูลต้นทุนบริการที่แท้จริงของโรงพยาบาล
ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยนอก, ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยใน, วิธีต้นทุนจุลภาค, Unit cost of outpatient visit, Unit cost of inpatient admission, Micro costing method
ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็ม :: ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1.pdf
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor