เราใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “ยอมรับ” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้งานคุ๊กกี้
ต้นทุนบริการของโรงพยาบาลรัฐในแต่ละระดับของประเทศไทย: ผลลัพธ์ของระยะที่ 1
Service Cost at Different Levels of Health Facilities: Outputs from the First Phase Cost per Disease
การศึกษาต้นทุนนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางหลายปี (multi cross-sectional study) คาดประมาณต้นทุนบริการในมุมมองของโรงพยาบาล ตามแนวคิดการประเมินต้นทุนที่อิงการปฏิบัติงานจริง (empirical costing approach) เก็บข้อมูลย้อนหลังในแต่ละปีงบประมาณ รวม 4 ปีงบประมาณ (2561-2564) จาก โรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 และมีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุน จนสามารถนำข้อมูลนั้นมาคำนวณต้นทุนได้ จำนวน 40 แห่ง รวม 88 แฟ้มต้นทุน วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนบริการของโรงพยาบาลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนบริการมีสัดส่วนต่อต้นทุนรวมมากกว่าร้อยละ 89 ทุกกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มโรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนบริการต่ำกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนค่าแรงและค่าลงทุนสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีสัดส่วนต้นทุนค่าวัสดุสูงกว่าค่าแรงและค่าลงทุน และสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก นอกจากนี้โรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนการบริหารจัดการหรือต้นทุนทางอ้อมสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ผลการศึกษานี้โรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลไปอ้างอิงเป็นเกณฑ์ขั้นต้นในการประเมินโครงสร้างต้นทุน และกระทรวงสาธารณสุขสามารถนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนของโรงพยาบาลในสังกัด ให้มีความเหมาะสมต่อไปได้
This study is a multi-cross-sectional study aimed at estimating service costs from the hospital’s perspective based on the empirical costing approach of actual operational practices. Data were retrospectively collected for four fiscal years (2018-2021) from the Ministry of Public Health hospitals participating in the Cost per Disease project phase 1. A total of 40 hospitals with 88 cost files were obtained. Statistical analysis was conducted to analyze hospital service cost data. The study found that service costs accounted for over 89% of the total costs across all hospital groups. Small-sized hospitals had lower service cost proportions than large-sized hospitals. Small hospitals had higher labor and capital cost proportions than large hospitals. In contrast, large hospitals had higher material cost proportions than labor and capital costs, and higher than smaller hospitals. Additionally, small hospitals had higher proportions of indirect management or overhead costs than larger hospitals. This study provided hospitals with preliminary benchmarks for assessing cost structures, and the Ministry of Public Health can use this data to consider adjustments to hospital cost structures to enhance future appropriate hospital efficiency.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาต้นทุนบริการของโรงพยาบาล และวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนบริการดังกล่าวตามแหล่งกำเนิดต้นทุนที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม HSCE จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรงพยาบาลรัฐสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 จำนวน 40 แห่ง ในปีงบประมาณ 2561-2564 รวม 88 แฟ้มต้นทุน แสดงผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่าร้อยละ 89 เป็นต้นทุนบริการ และกลุ่มโรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนบริการต่ำกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยโรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนค่าแรงและค่าลงทุนสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีสัดส่วนต้นทุนค่าวัสดุสูงกว่าค่าแรงและค่าลงทุน และสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก นอกจากนี้โรงพยาบาลขนาดเล็กมีสัดส่วนต้นทุนการบริหารจัดการหรือต้นทุนทางอ้อมสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ผลการศึกษานี้โรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงขั้นต้นในการประเมินโครงสร้างต้นทุน และกระทรวงสาธารณสุขสามารถนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนของโรงพยาบาลในสังกัด ให้มีความเหมาะสมต่อไปได้
ต้นทุนโรงพยาบาล, ต้นทุนบริการ, โครงสร้างต้นทุนโรงพยาบาล, hospital cost, medical service cost, hospital cost structure
ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็ม :: ต้นทุนบริการของโรงพยาบาลรัฐในแต่ละระดับของประเทศไทย: ผลลัพธ์ของระยะที่ 1
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor