ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่1
ต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยนอก มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลทั้งโรคที่เป็น โรงพยาบาลที่รักษา และอายุผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล ตามวินิจฉัยโรคหลัก กลุ่มโรงพยาบาล และช่วงอายุ แหล่งข้อมูลที่ใช้คือข้อมูลต้นทุนผู้ป่วยนอกรายบุคคล ของโรงพยาบาล 40 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1 รวม 4 ปีงบประมาณ (2561-2564) จำนวน 34,696,442 ครั้ง ซึ่งเป็นข้อมูลต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลในมุมมองของผู้ให้บริการ (provider perspective) ใช้วิธีการคำนวณต้นทุนบริการทางการแพทย์แบบมาตรฐานจากบนลงล่าง (top-down method) วิธีต้นทุนจุลภาค (bottom-up method) วิเคราะห์ต้นทุนรายโรคผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้งและต้นทุนรวม (ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งXจำนวนครั้ง) ตามรหัสการวินิจฉัยโรคหลัก โดยก่อนการวิเคราะห์ได้ตัดข้อมูลที่ไม่มีรหัสและข้อมูลต้นทุนที่ผิดปกติออก คงเหลือข้อมูลในการวิเคราะห์ 29,895,693 ครั้ง (ร้อยละ 94.8) ผลพบว่า หากไม่รวมผู้ป่วยนอกที่มารับบริการตรวจสุขภาพ และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (การคัดกรอง และการรับวัคซีน) พบว่า โรคที่พบบ่อยและต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกสูง 3 ลำดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง (I10) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 964 บาท ต้นทุนรวม 1,436.7 ล้านบาท โรคเบาหวาน (E119) 1,312 บาท ต้นทุนรวม 1,344.0 ล้านบาท และ โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 (N185) 2,021 บาท ต้นทุนรวม 1,089.6 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (300 เตียงขึ้นไป) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1,017 บาท โรคเบาหวาน 1,421 บาท และ โรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 5 (N185) 2,095 บาท โรงพยาบาลขนาดเล็ก (น้อยกว่า 300 เตียง) โรคความดันโลหิตสูง (I10) ต้นทุนเฉลี่ย 1,017 บาทต่อครั้ง โรคเบาหวาน 1,421 บาท และ โรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 5 (N185) 2,095 บาท ผู้ป่วยเด็ก (แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน 15 ปี) โรคที่พบบ่อยและมีต้นทุนรวมสูงสุด คือ โรค Disturbance of activity and attention (F900) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,279 บาท ต้นทุนรวม 119.4 ล้านบาท รองลงมา คือ โรคไข้หวัดทั่วไป (J00) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 497 บาท ต้นทุนรวม 74.4 ล้านบาท และ Caries of dentine (K021) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,426 บาท ต้นทุนรวม 76.2 ล้านบาท ผู้ป่วยวัยแรงงาน (อายุ 15 ถึง 60 ปี) โรค Unspecified human immunodeficiency virus [HIV] disease มีต้นทุนรวมสูงสุด 713.6 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 2,885 บาท รองลงมา คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (E119) ต้นทุนรวม 579.8 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,226 บาท และโรคความดันโลหิตสูง (I10) ต้นทุนรวม 540.4 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 863 บาท ผู้ป่วยสูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) โรคความดันโลหิตสูง (I10) มีต้นทุนรวมสูงที่สุด 891.5 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,038 บาท รองลงมาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (E119) ต้นทุนรวม 756.4 ล้านบาทต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,395 บาท และโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 (N185) ต้นทุนรวม 552.7 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 2,042 บาท สรุป การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยนอกโดยให้ความสำคัญกับโรค โรงพยาบาลที่รักษา และอายุของผู้ป่วย มุ่งเน้นต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งมีต้นทุนแตกต่าง อันจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนักวิชาการ, ผู้ให้บริการ, นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย เห็นความสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ในการคำนวณงบประมาณ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้หน่วยบริการอย่างเหมาะสมต่อไป
The costs of outpatient services vary among individuals, depending on the disease they have, the hospital providing care, and the age of the patient. This study aimed to present the cost of outpatient services per disease based on individual patient’s principal diagnosis, hospital group, and age range. The data used in this study consisted of individual patient cost data from 40 voluntary hospitals that participated in the First Phase Cost per Disease Project over a four-year fiscal period (2018-2021), totaling 34,696,442 visits. Costs of outpatient services were on the provider's perspective and calculated using standard top-down and bottom-up methods. The analysis included the average cost per outpatient visit and the total cost of illness (average cost per visit multiplied by the number of visits), categorized by the principal diagnosis based on the International Classification of Diseases, Tenth Revision. Prior to the analysis, data without ICD codes and abnormal cost data were excluded, resulting in 29,895,693 visits (94.8%) for analysis. The results showed that if we excluded outpatient visits for health check-ups and COVID-19 (screening and vaccination), the top three most frequently occurring diseases with the highest outpatient service costs were as follows: 1) hypertension (I10) with an average cost per visit of 964 baht and a total cost of 1,436.7 million baht. 2) Diabetes (E119) with an average cost per visit of 1,312 baht and a total cost of 1,344.0 million baht. 3) Chronic kidney disease stage 5 (N185) with an average cost per visit of 2,021 baht and a total cost of 1,089.6 million baht. For large hospitals (300 beds or more), the average cost per visit for treating patients with hypertension was 1,017 baht, for diabetes is 1,421 baht, and for chronic kidney disease stage 5 (N185) was 2,095 baht. For small hospitals (less than 300 beds), the average cost per visit for hypertension was 810 baht, for diabetes was 1,022 baht, and for chronic kidney disease stage 5 (N185) was 1,790 baht. For pediatric patients (from newborns up to 15 years old), the most frequently occurring diseases with the highest total costs were as follows: 1) disturbance of activity and attention (F900) with an average cost per visit of 1,279 baht and a total cost of 119.4 million baht. 2) Common cold (J00) with an average cost per visit of 497 baht and a total cost of 74.4 million baht. 3) Caries of dentine (K021) with an average cost per visit of 1,426 baht and a total cost of 76.2 million baht. For working-age patients (aged 15 to 60 years), the disease with the highest total cost was unspecified human immunodeficiency virus [HIV] disease, with a total cost of 713.6 million baht and an average cost per visit of 2,885 baht. The next highest were type 2 diabetes (E119) with a total cost of 579.8 million baht and an average cost per visit of 1,223 baht and hypertension (I10) with a total cost of 540.4 million baht and an average cost per visit of 863 baht. For elderly patients (above 60 years old), the disease with the highest total cost was hypertension (I10), with a total cost of 891.5 million baht and an average cost per visit of 1,038 baht. The next highest were type 2 diabetes (E119) with a total cost of 756.4 million baht and an average cost per visit of 1,395 baht and chronic kidney disease stage 5 (N185) with a total cost of 552.7 million baht and an average cost per visit of 2,042 baht. In summary, this study showed cost variations by diseases, hospital groups, and patient age. This information should warrant academics, healthcare providers, researchers, and policymakers in using data for budgeting and resource allocation to ensure optimal healthcare service provision in the future.
ต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยนอก มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลทั้งโรคที่เป็น โรงพยาบาลที่รักษา และอายุผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคล ตามการวินิจฉัยโรค กลุ่มโรงพยาบาล และช่วงอายุ แหล่งข้อมูลที่ใช้คือข้อมูลต้นทุนผู้ป่วยนอกรายบุคคล ของโรงพยาบาล 40 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1 รวม 4 ปีงบประมาณ (2561-2564) จำนวน 34,696,442 ครั้ง ซึ่งเป็นข้อมูลต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลในมุมมองของผู้ให้บริการ (provider perspective) ใช้วิธีการคำนวณต้นทุนบริการทางการแพทย์แบบมาตรฐานจากบนลงล่าง (Top-down method) วิธีต้นทุนจุลภาค (Bottom-up method) วิเคราะห์ต้นทุนรายโรคผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้งและต้นทุนรวม (ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งXจำนวนครั้ง) ตามรหัสการวินิจฉัยโรคแรก (ICD-10-2016)
โดยก่อนการวิเคราะห์ได้ตัดข้อมูลที่ไม่มีรหัสและข้อมูลต้นทุนที่ผิดปกติออก คงเหลือข้อมูลในการวิเคราะห์ 29,895,693 ครั้ง (94.8%) ผลพบว่า หากไม่รวมผู้ป่วยนอกที่มารับบริการตรวจสุขภาพ และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (การคัดกรอง และการรับวัคซีน) พบว่า โรคที่พบบ่อยและต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกสูง 3 ลำดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง (I10) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 963.6 บาท ต้นทุนรวม 1,436.7 ล้านบาท โรคเบาหวาน (E119) 1,312.3 บาท ต้นทุนรวม 1,344.0 ล้านบาท และ โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 (N185) 2,021.1 บาท ต้นทุนรวม 1,089.6 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (300 เตียงขึ้นไป) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1,017.0 บาท โรคเบาหวาน 1,421.3 บาท และ โรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 5 (N185) 2,095.0 บาท โรงพยาบาลขนาดเล็ก (น้อยกว่า 300 เตียง) โรคความดันโลหิตสูง (I10) ต้นทุนเฉลี่ย 1,017.0 บาทต่อครั้ง โรคเบาหวาน 1,421.3 บาท และ โรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 5 (N185) 2,095.0 บาท
ผู้ป่วยเด็ก (แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน 15 ปี) โรคที่พบบ่อยและมีต้นทุนรวมสูงสุด คือ โรค Disturbance of activity and attention (F900) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,278.8 บาท ต้นทุนรวม 119.4 ล้านบาท รองลงมา คือ โรคไข้หวัดทั่วไป (J00) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 496.8 บาท ต้นทุนรวม 74.4 ล้านบาท และ Caries of dentine (K021) ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,426.2 บาท ต้นทุนรวม 76.2 ล้านบาท ผู้ป่วยวัยแรงงาน (อายุ 15 ถึง 60 ปี) โรค Unspecified human immunodeficiency virus [HIV] disease มีต้นทุนรวมสูงสุด 713.6 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 2,884.8 บาท รองลงมา คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (E119) ต้นทุนรวม 579.8 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,22.5 บาท และโรคความดันโลหิตสูง (I10) ต้นทุนรวม 540.4 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 863.1 บาท
ผู้ป่วยสูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) โรคความดันโลหิตสูง (I10) มีต้นทุนรวมสูงที่สุด 891.5 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,037.9 บาท รองลงมาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (E119) ต้นทุนรวม 756.4 ล้านบาทต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 1,395.1 บาท และโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 (N185) ต้นทุนรวม 552.7 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้ง 2,041.8 บาท
สรุป การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาต้นทุนในการให้บริการผู้ป่วยนอกโดยให้ความสำคัญกับโรค โรงพยาบาลที่รักษา และอายุของผู้ป่วย มุ่งเน้นต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งมีต้นทุนแตกต่าง อันจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนักวิชาการ, ผู้ให้บริการ, นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย เห็นความสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ในการคำนวณงบประมาณ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้หน่วยบริการอย่างเหมาะสมต่อไป
หลักการและเหตุผล
วิธีการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการมีความสำคัญมากในระบบการคลังสุขภาพเนื่องจากมีผลต่อพฤติกรรมการให้บริการ(1) การจ่ายเงินสำหรับบริการผู้ป่วยนอก หลักประกันสุขภาพของไทย มีรูปแบบการเบิกจ่ายที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากมีบริบท ข้อบังคับทางกฎหมาย และระบบบริหารจัดการกองทุนที่แตกต่างกันในหลายประเด็น เช่น การจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายรายหัว (capitation) ของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(2) และประกันสังคม(3) การจ่ายเงินตามรายการ Fee For Services สำหรับผู้ป่วยนอกของกองทุนสวัสดิการข้าราชการ(4) และการจ่ายตามรายการ Fee Schedule ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตกรุงเทพมหานคร(2)และการจ่ายตามรายการ Fee Schedule ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข(5) ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผู้มีสิทธิการรักษาคนละระบบได้รับการบริการด้านสุขภาพมากหรือน้อยกว่าที่ควรได้รับตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดีต้นทุนหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ โดยการบริการของโรงพยาบาลจะประกอบไปด้วย บริการที่สำคัญ 2 รูปแบบ คือ บริการผู้ป่วยนอกและบริการผู้ป่วยใน ซึ่งการศึกษาต้นทุนส่วนใหญ่จะศึกษาต้นทุนเป็นค่าเฉลี่ยผู้ป่วยนอกต่อครั้ง(6) ไม่สามารถแยกความแตกต่างในรายละเอียด เช่น คุณลักษณะของผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ โรคหรือความเจ็บป่วยฯลฯ วิธีการรักษา รวมทั้งผู้รักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้การใช้ทรัพยากรในการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน ถึงแม้จะการศึกษาต้นทุนการเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละโรคอยู่บ้าง แต่ทำการศึกษาเป็นการเฉพาะ (project-by-project)(7, 8) การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลที่เป็นผลผลิตของการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1 เพื่อแสดงถึงต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกที่สะท้อนต้นทุนบริการที่แท้จริงของผู้ป่วยนอกแต่ละบุคคลตามการวินิจฉัยโรค ลักษณะการให้บริการในแต่ละกลุ่มโรงพยาบาล และตามกลุ่มอายุ
ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอก, ต้นทุนผู้ป่วยรายโรค, ต้นทุนผู้ป่วยนอกของผู้สูงอายุ, Outpatient service costs, Outpatient costs per disease, Outpatient costs for the aged
ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็ม :: ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1.pdf
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor