วันที่ 18 กันยายน 2567ณ ห้องโลตัส โรงแรมรามาการ์เด้นส์
วัตถุประสงค์- ทบทวนวนวรรณกรรมเพื่อแสวงหาและคิดค้นหลักการ ตลอดจนกำหนดตัวแปรในการจัดทำกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก ที่เหมาะสมกับบริบท และข้อมูลของประเทศไทย- จัดทำต้นไม้ในการตัดสินใจ (decision tree) ฉบับ 0.1 สำหรับการจัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอกประเทศไทย
วิธีการศึกษา- ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก เลือกศึกษาในประเทศที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ และเป็นประเทศที่ใช้การจัดกลุ่มผู้ป่วยเป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินสำหรับบริการผู้ป่วยนอก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา- ทบทวนและศึกษาระบบข้อมูลผู้ป่วยนอกของประเทศไทย- ประชุมและนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมและต้นไม้ในการตัดสินใจ (decision tree) ฉบับ 0.0 แก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับฟังความคิดเห็น- สรุปผลและพัฒนาต้นไม้ในการตัดสินใจ (decision tree) ฉบับ 0.1
โดยมีผู้เชี่ยวชาญรับฟังความเห็น และเสนอแนะจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม, สมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย, สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, สภาการสาธารณสุขชุมชน, สภาการพยาบาล, สภากายภาพบำบัด, สภาเภสัชกรรม, สภาเทคนิคการแพทย์, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, สถาบันทันตกรรม, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, สถาบันโรคผิวหนัง
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, กรมบัญชีกลาง, กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กทม, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลราชบุรี, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
วัตถุประสงค์โครงการฯ
วัตถุประสงค์ทั่วไป- เพื่อพัฒนากลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอกของประเทศไทย
วัตถุประสงค์เฉพาะ- เพื่อพัฒนากลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอกให้เหมาะสมกับโรค การรักษา ค่ารักษา ต้นทุน และเทคโนโลยีในการรักษา รวมทั้งข้อมูลบริการตามบริบทของประเทศไทย- เพื่อคำนวณต้นทุนและค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความรุนแรงของโรคและการใช้ทรัพยากรในการรักษาผู้ป่วยนอก- เพื่อประเมินผลกระทบของการใช้กลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอกในการจ่ายเงิน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ- ระบบสุขภาพของประเทศไทย มีระบบการจัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอกที่เหมาะสมกับบริบทการให้บริการจริงของโรงพยาบาล- โรงพยาบาล กองทุนระบบประกันสุขภาพ และผู้กำหนดนโยบาย มีเครื่องมือในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยเป็นทางเลือกวิธีการจ่ายเงิน สำหรับผู้ป่วยนอก ตลอดจนใช้ในการจัดสรรเงินชดเชยให้โรงพยาบาล และประเมินศักยภาพในการรักษาพยาบาล สําหรับการให้บริการผู้ป่วยนอก
Powered by Froala Editor