ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาประสิทธิภาพ การนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 6 มาใช้ในการบริหารการเรียกเก็บค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กองทุนผู้ป่วยในในระบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2567
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาประสิทธิภาพ การนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 6 มาใช้ในการบริหารการเรียกเก็บค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กองทุนผู้ป่วยในในระบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรในการใช้ TDRG ฉบับ 6 และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของหน่วยบริการให้รองรับการใช้งาน TDRG ฉบับ 6 ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม 901 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลบุรีรัมย์
เชิญบุคลากรสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทยเป็นวิทยากร ร่วมให้ความรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาประสิทธิภาพการนำกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 6 มาใช้ในการบริหารการเรียกเก็บค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์กองทุนผู้ป่วยในในระบบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กำหนดการประชุม
กิจกรรม
DRG Classification และขั้นตอนของการจัดกลุ่ม DRG (TDRG grouping) ตั้งแต่ข้อมูลเริ่มต้นจนได้กลุ่ม DRG & RWฝึกปฏิบัติ การจัดกลุ่ม TDRGs ตามคู่มือ (Grouping Exercise)
1. Simple cases- PDx only- One Proc only- PreMDC- MDC 15
ฝึกปฏิบัติ การจัดกลุ่ม TDRGs ตามคู่มือ (Grouping Exercise)
2. Complex 1- PCL Determination- Many Proc- Proc combination- Proc Extension- Dagger-asterisk- MDC 25
3. Complex 2- One SDx- Many SDx- Antenatal with O98.-, O99.-PDx with 2 MDC
Problem/Conflict1. การ assign MDC 25 "Multiple Significant Trauma"2. DC ที่ใช้อายุ ในการกำหนด DC ที่กำหนดโดยใช้ Proc หรือ DX การใช้ grouper3. โปรแกรม TDRG Grouper 6.3 "สำหรับวิเคราะห์ผู้ป่วยหลายรายพร้อมกัน" โปรแกรม TDRG Seeker 6.3 "สำหรับการศึกษาเฉพาะราย"
และการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย จาก ฉบับ 5.1 เป็น 6.3
Powered by Froala Editor