วิธีคาดประมาณต้นทุน 6 ขั้นตอนในการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการคำนวณต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย การคาดประมาณต้นทุนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดหน่วยต้นทุน 2) รวบรวมข้อมูลต้นทุน ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุและค่าลงทุน และกระจายต้นทุนไปเป็นต้นทุนทางตรงของหน่วยต้นทุนต่างๆ 3) จัดสรรต้นทุนของหน่วยสนับสนุนไปเป็นต้นทุนทางอ้อมของหน่วยรับต้นทุน 4) ส่งต้นทุนของหน่วยบริการไปเป็นต้นทุนของหมวดค่ารักษาย่อย 5) แบ่งต้นทุนของแต่ละหมวดค่ารักษาย่อยไปคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละกิจกรรมบริการ และ 6) นำต้นทุนรายกิจกรรมที่ได้ไปใส่ตามกิจกรรมบริการที่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในแต่ละรายได้รับในการมารับบริการครั้งนั้น ๆ แล้วจึงคำนวณเป็นต้นทุนรายบุคคลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยได้ออกแบบวิธีการให้สร้างระบบมาตรฐานในการนำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลมาจัดระเบียบ ให้สามารถคำนวณต้นทุนได้โดยสะดวก รวมทั้งเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านต้นทุนให้มีความน่าเชื่อถือ และวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนมาตรฐานแบบละเอียดนี้จะเป็นประโยชน์ในการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนรายบุคคล เพื่อให้มีข้อมูลนำไปใช้ในการจัดทำนโยบายในการจัดสรรงบประมาณให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของโรงพยาบาล และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเก็บข้อมูลต้นทุนบริการของระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆของประเทศไทยในอนาคตต่อไป
Abstract
The objective of this article was to present a methodology for calculating cost in the Cost per Disease project. The cost estimation process consisted of six steps: 1) cost center determination, 2) compiling total cost data covering labor costs, material costs, and capital costs, and allocating these costs as direct costs to specified cost centers, 3) allocating costs from supporting cost centers as indirect costs to the absorbing cost centers, 4) allocating costs of patient service unit down to individual billing-subgroups, 5) dividing the billing-subgroup costs by the number of activities of corresponding billing-subgroups to get service-item unit-cost (SIUCost) by billing-subgroups, and 6) summing up SIUCosts according to intensity of services (quantity) consumed to arrive at costs by outpatient visit, inpatient admission or by disease categories. The present methodology created a standard data system approach to abstract all hospital data to estimate cost through the hospital information system (HIS). Additionally, the present methodology enhanced repeatability and reliability of cost estimate outputs from the readily available HIS, thereby furnished hospitals with activity-based and individual-based cost data from detailed granularity of SIUCosts for payment policy negotiation based on actual costs incurred by the hospital. The developed methodology should contribute to the future enhancement of cost data for various health insurance schemes in Thailand.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการคำนวณต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย การคาดประมาณต้นทุนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1) กำหนดหน่วยต้นทุน
2) รวบรวมข้อมูลต้นทุน ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุและค่าลงทุน และกระจายต้นทุนไปเป็นต้นทุนทางตรงของหน่วยต้นทุนต่างๆ
3) จัดสรรต้นทุนของหน่วยสนับสนุนไปเป็นต้นทุนทางอ้อมของหน่วยรับต้นทุน
4) ส่งต้นทุนของหน่วยบริการไปเป็นต้นทุนของหมวดค่ารักษาย่อย
5) แบ่งต้นทุนของแต่ละหมวดค่ารักษาย่อยไปคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละกิจกรรมบริการ และ
6) นำต้นทุนรายกิจกรรมที่ได้ไปใส่ตามกิจกรรมบริการที่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในแต่ละรายได้รับในการมารับบริการครั้งนั้น ๆ แล้วจึงคำนวณเป็นต้นทุนรายบุคคลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
โดยได้ออกแบบวิธีการให้สร้างระบบมาตรฐานในการนำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลมาจัดระเบียบ ให้สามารถคำนวณต้นทุนได้โดยสะดวก รวมทั้งเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านต้นทุนให้มีความน่าเชื่อถือ และวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนมาตรฐานแบบละเอียดนี้จะเป็นประโยชน์ในการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนรายบุคคล เพื่อให้มีข้อมูลนำไปใช้ในการจัดทำนโยบายในการจัดสรรงบประมาณให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของโรงพยาบาล และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเก็บข้อมูลต้นทุนบริการของระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆของประเทศไทยในอนาคตต่อไป
ต้นทุนบริการทางการแพทย์, ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมบริการ, การคาดประมาณต้นทุนโรงพยาบาล, Medical service costs, Service-item unit-cost, Hospital unit cost estimation
ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็ม :: วิธีคาดประมาณต้นทุน 6 ขั้นตอนในการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะ ที่ 1.pdf
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor