โครงการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่1 (ปีงบประมาณ 2561-2565)
โครงการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะ ที่ 1 ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาระหว่างคณะผู้วิจัยกับคณะบุคคลของโรงพยาบาลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และการศึกษาภาคตัดขวาง ของแต่ละปีงบประมาณ ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (2561-2565) เป็นข้อมูลต้นทุนของปีงบประมาณ 2561-2564 ของโรงพยาบาลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและจัดทำข้อมูลต้นทุนสำเร็จ รวม 40 แห่ง ประมาณการณ์ต้นทุนตามการปฏิบัติงานจริงในมุมมองของผู้ให้บริการ การศึกษานี้ได้พัฒนาหน่วยต้นทุนและชุดข้อมูลมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากใช้ข้อมูลค่าใช้จ่าย ข้อมูลบริการ และข้อมูลบริการผู้ป่วยจากระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล วิเคราะห์ต้นทุนรวมของโรงพยาบาลและต้นทุนรายหน่วยต้นทุน คำนวณต้นทุนรายกิจกรรม ด้วยวิธีต้นทุนการบริการทางการแพทย์แบบมาตรฐาน และคำนวณต้นทุนรายบุคคล รายโรค และรายกลุ่มโรค ด้วยวิธีต้นทุนจุลภาคหรือจากล่างขึ้นบน จัดการและประมวลข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน ไปเป็นต้นทุนรายหน่วยต้นทุน ต้นทุนรายกิจกรรมจนถึงต้นทุนรายบุคคล ต้นทุนผู้ป่วยนอกและต้นทุนผู้ป่วยใน ด้วยโปรแกรม HSCE (Healthcare Service Cost Estimation) ที่พัฒนาขึ้น สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนบริการของโรงพยาบาล ต้นทุนรายกิจกรรม ต้นทุนรายบุคคลของผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน จำนวนอย่างละ 88 แฟ้ม สามารถนำมาคำนวณต้นทุนรายโรคและต้นทุนรายกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ได้ แต่ยังต้องการจำนวนโรงพยาบาลให้มากพอที่จะเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลทุกระดับ จึงจำเป็นต้องขยายการศึกษาต้นทุนในโครงการฯ นี้ในระยะที่ 2 ต่อไป
ปัญหาการคลังสุขภาพโดยทั่วไป คือ เงินไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานบริการสุขภาพจากสาเหตุหลักคือ ทรัพยากรขาดแคลนได้แก่ต้นทุนสูงขึ้นความคาดหวังมากขึ้นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ คือ มีทรัพยากรอย่างเพียงพอแต่ใช้ไม่ถูกประโยชน์ ได้แก่ ทรัพยากรบุคคลเทคโนโลยีและการกระจายทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม(1) ตามหลักการเศรษฐศาสตร์ที่ว่า “ในขณะที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการมีไม่จำกัด”(2) ต้นทุนจึงเป็นข้อมูลสำคัญของการบริหารทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและการประเมินความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรในการบริการต่างๆตลอดจนเป็นตัววัดค่าใช้จ่ายของทุกองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพนับจากประเทศไทยเริ่มดำเนินการนโยบายสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2545 รายรับและสถานะทางการเงินของโรงพยาบาล เป็นเรื่องที่โรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก(3, 4) เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น(5) ผู้รับบริการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังและประชากรผู้สูงอายุ(6) อีกทั้งการบริการที่ต้องเป็นไปตามระบบการชดเชยของกองทุนหลักประกันสุขภาพที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนผู้มีสิทธิมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้งบประมาณที่จำกัด(7) โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพต่างๆสนใจที่ผลลัพธ์ของการบริการและการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในขณะที่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการควรได้รับงบประมาณที่เพียงพอในการให้บริการที่ตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน อีกทั้งทรัพยากรที่ใช้ไปก็ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการเกิดภาวะทั้งสองพร้อมกัน
ต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละกิจกรรมบริการเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนบริการผู้ป่วยรายบุคคลต้นทุนผู้ป่วยนอกต่อครั้งต้นทุนผู้ป่วยนอกรายโรคต้นทุนผู้ป่วยนอกรายกลุ่มโรคต้นทุนผู้ป่วยในต่อรายต้นทุนผู้ป่วยในรายกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis related group, DRG) และต้นทุนต่อ AdjRW (adjusted relative weight) รวมถึงการกำหนดอัตราจ่ายของแต่ละกองทุนหลักประกันสุขภาพประเทศไทยได้มีการพัฒนาและดำเนินการศึกษาต้นทุนบริการของหน่วยบริการในประเทศไทยมาเป็นมาระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการดำเนินนโยบายสุขภาพถ้วนหน้า แต่การศึกษาต้นทุนที่ผ่านมามักทำเป็นครั้งคราว ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง ณ เวลานั้นซึ่งมีเพียงบางโรงพยาบาลที่ผู้บริหารให้ความสำคัญและมีผู้รับผิดชอบที่เข้มแข็งจนสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้เนื่องจากการเก็บข้อมูลแบบละเอียดต้องใช้เวลาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำนวนมากความสำเร็จของโครงการฯจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลทำให้ขาดความยั่งยืนในระบบถึงแม้ประเทศไทยจะมีฐานข้อมูลบัญชีเกณฑ์คงค้างที่แสดงรายรับ รายจ่ายของโรงพยาบาล (4) และมีการคำนวณต้นทุนแบบ quick method จากข้อมูลบัญชีของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกเดือน(8)แต่ยังขาดฐานข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมการบริการรวมถึงต้นทุนต่อหน่วยของบริการรักษาพยาบาลรายบุคคลรายโรครายกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่น่าเชื่อถือและได้จากวิธีการที่มีมาตรฐานเดียวกันของโรงพยาบาลระดับต่างๆการเก็บข้อมูลควรออกแบบอย่างเป็นระบบให้ดำเนินการต่อได้ซึ่งการดำเนินการให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยมีระบบข้อมูลต้นทุนทั้งต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมการบริการต้นทุนต่อหน่วยของชุดบริการรวมถึงต้นทุนต่อหน่วยของบริการรักษาพยาบาลรายโรคได้ต้องใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดจำนวนมากอาจจะมีภาระงานที่ยุ่งยากในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลค่าใช้จ่ายข้อมูลเกณฑ์การกระจายต้นทุนของหน่วยสนับสนุนไปยังศูนย์ต้นทุนบริการข้อมูลผลงานบริการรายบุคคล รายโรคและอื่นๆ รวมถึงบริการต่างๆ ในโรงพยาบาลมีความสลับซับซ้อนที่แตกต่างกันทั้งภายในโรงพยาบาลและระหว่างโรงพยาบาล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญ 2 ประการ ที่น่าจะส่งผลดีต่อการศึกษาต้นทุน คือ 1) ฐานข้อมูลทางบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งทุกโรงพยาบาลได้มีการพัฒนาระบบข้อมูลบัญชีเกณฑ์คงค้างโดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศจัดทำข้อมูลเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีการตรวจสอบความถูกต้องจากส่วนกลางทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือมากขึ้นและ 2) ฐานข้อมูลการให้บริการและค่ารักษารายกิจกรรม/ผู้ป่วยรายบุคคลของโรงพยาบาล มีการจัดทำเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในโรงพยาบาลทุกระดับ การรู้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้อง ถูกภารกิจผลงานบริการและถูกเวลาเป็นปัจจัยช่วยให้บริหารได้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร โรงพยาบาลทุกระดับจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำข้อมูลต้นทุนที่มีรูปแบบมาตรฐาน ตามระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และสามารถนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพบริการของโรงพยาบาลในกลุ่มได้ นับเป็นความท้าทายของสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมบริการของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี เพื่อนำไปสู่การมีฐานข้อมูลต้นทุนบริการ และสามารถนำไปอ้างอิงได้ในระดับประเทศ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย จึงจัดทำโครงการ “วิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1” เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลต้นทุบริการของโรงพยาบาลในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ปีงบประมาณ 2561-2564) โดยในระยะที่ 1 จะดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลต้นทุนที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลในปัจจุบัน และทดลองเก็บข้อมูลต้นทุนตามหลักการใหม่ที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาล 40 แห่ง ภายใน 5 ปี และดำเนินการขยายต่อในโรงพยาบาลที่เหลือในระยะต่อไป แต่ในปีงบประมาณ 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพมีความจำกัดในเรื่องงบประมาณ อย่างไรก็ตามสำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทยได้เห็นถึงประโยชน์และความจำเป็นของการมีระบบจัดทำข้อมูลต้นทุนดังกล่าว จึงดำเนินการต่อ โดยเปิดให้โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ โดยสมัครใจ และสนับสนุนงบประมาณในบางส่วน หากโรงพยาบาลสามารถสนับสนุนได้
2. วัตถุประสงค์
ศึกษาต้นทุนบริการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2561 – ปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2565)
ใช้วิธีทาบทาม ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกโรงพยาบาล ดังนี้
ต้นทุนรายโรค, ต้นทุนบริการทางการแพทย์, ต้นทุนต่อหน่วย, Cost per Disease, Medical service costs, Unit cost
ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับเต็ม :: โครงการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะ ที่ 1 (ปีงบประมาณ 2561-2565)จำนวนฐานข้อมูลโรงพยาบาลที่พร้อมใช้.pdf
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor