เราใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณกด “ยอมรับ” หรือใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้งานคุ๊กกี้
การพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในประเทศไทย เริ่มอย่างเป็นระบบในปี 2536 เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อเป็นทางเลือกของวิธีการจ่ายเงินแก่สถานพยาบาล นอกเหนือจากการจ่ายตามรายการ และการจ่ายตามอัตราเหมาจ่ายรายหัว การวิจัยครั้งแรกในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 10 จังหวัดประสบผลสำเร็จ ได้กลุ่มโรคทางอุบัติเหตุกว่า 100 กลุ่ม ต่อมาจึงขยายการวิจัยออกไปสู่ผู้ป่วยที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล และในที่สุดถึงผู้ป่วยทุกรายที่เข้านอนรักษาในโรงพยาบาล โดยนำฐานข้อมูลผู้ป่วยในระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่างโรงพยาบาล กิจกรรมทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ระบบการคลังสุขภาพที่ใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นเกณฑ์จ่ายเงิน น่าจะใช้ได้กับประเทศไทย ดังนั้น ในปี 2541 สำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เพื่อการจ่ายเงินผู้ป่วยในสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล กรณีค่ารักษาราคาสูง การประกาศใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ของสำนักงานประกันสุขภาพ ทำให้เกิดความตื่นตัวด้านข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยในรายบุดคลเป็นอย่างสูง เกิดการเชื่อมโยงของข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการไหลเวียนของข้อมูลจากโรงพยาบาล สู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จนถึงกระทรวงสาธารณสุข ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นสินทรัพย์สำคัญของระบบสาธารณสุขไทย จากจำนวนผู้ป่วย 1.5 ล้านรายปี2541 เป็น 3.0 ล้านรายปี 2542 และมากกว่า 3.6 ล้านรายปี 2543
กล่าวได้ว่า กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม และคุณภาพของการรักษาพยาบาล โปรแกรมการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับที่ 1 นำออกใช้ในปี2541 ตามด้วยฉบับที่ 2 ในปี 2543 การเปรียบเทียบผลการวิเคระห์ด้วยโปรแกรมการจัดกลุ่มที่ไทยพัฒนาขึ้นเองกับโปรแกรมจัดกลุ่มของต่างประเทศให้ผลดีขึ้น และเมื่อรัฐบาลกำลังขยายนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2545 กลุ่มนักพัฒนาและวิจัยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานประกันสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก พร้อมกับความร่วมมือจากราชวิทยาลัย วิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับที่ 3 โดยมีกลุ่มโรคเพิ่มจาก 500 เป็นประมาณ 1,000 กลุ่ม เพื่อเหมาะสมกับแบบแผนของการเจ็บป่วยของไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรคเขตร้อน ทางเลือกของการพัฒนากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับที่ 3 มีหลายประการทั้งการต่อยอดองค์ความรู้ต่างประเทศ ผสมผสานกับการพัฒนาจากฐานข้อมูลของไทยเอง
การพัฒนากลุ่มโรคร่วมในประเทศไทยยังจำกัดอยู่ฉพาะกลุ่มวินิจฉัยฉัยโรคร่วม สำหรับผู้ป่วยระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาล แต่เนื่องจากความซับซ้อนหลายมิติของระบบบริการสุขภาพ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ การพัฒนาคุณภาพตามระบบรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข การให้โรงพยาบาลเป็นหน่วยราชการอิสระภายใต้พระราชบัญญัติองค์การมหาชน และความต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาลใหม่ ฯลฯ ทำให้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างขี่กระแสของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่คณะทำงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเสนอไว้ชัดเจนให้แยกการจัดการงบประมาณ เหมาจ่ายรายหัว สำหรับการดูแลขั้นปฐมภูมิ ออกจากการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ที่จัดสรรตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ภายใต้วงงบประมาณยอดรวม วิธีการจัดการแม้จะซับซ้อนยุ่งยาก แต่มีดวามเป็นไปได้ โดยต้องอาศัยการบริหารจัดการโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเอกภาพทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงบริการโรงพยาบาลที่จำเป็นและมีคุณภาพของประชาชนทั่วประเทศ
หลักการพัฒนา CaseMix ของ สรท.
- โปร่งใส เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ และเป็นกลาง
- ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (ตั้งแต่เริ่มพัฒนา)
- ต่อยอดองค์ความรู้จากทีมวิจัยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี
- พัฒนาระบบเคสมิกซ์ตามหลักวิชาการ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลพร้อมไปกับการพัฒนาคุณภาพข้อมูลที่ต้องนำมาใช้วิจัย
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม DRG
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor